“เครื่องปั๊มสุญญากาศ” หัวใจสำคัญของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสมัยใหม่

เครื่องปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูดอากาศหรือก๊าซออกจากระบบที่ปิด ไม่ว่าจะเป็นห้อง ถัง หรือท่อภายในอุตสาหกรรม เพื่อให้ภายในพื้นที่นั้นมีความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ หรือที่เรียกกันว่า “สุญญากาศ” โดยการลดปริมาณโมเลกุลของอากาศลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลย ทำให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างแม่นยำ ปลอดเชื้อ และปราศจากการปนเปื้อน ที่อาจทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง หรือกระบวนการผิดพลาด ซึ่งมีความจำเป็นในหลายกระบวนการทางอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

ประเภทเครื่องปั๊มสุญญากาศที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อใช้ในอุตสาหกรรม

เครื่องปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump) ที่นิยมใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมีหลายประเภท แบ่งตามหลักการทำงานและระดับสุญญากาศที่สามารถสร้างได้ ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน โดยเครื่องปั๊มสุญญากาศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทหลัก ๆ ที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบโรตารี่ (Rotary Vane Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบโรตารี่ เป็นหนึ่งในประเภทที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเครื่องปั๊มสุญญากาศชนิดนี้จะใช้ใบพัดหมุนภายในกระบอกสูบ เพื่อดูดและดันอากาศออกอย่างต่อเนื่อง ตัวใบพัด (vane) จะหมุนไปตามแรงเหวี่ยง เกิดการกวาดอากาศออกจากห้องทำงานจนเกิดเป็นสุญญากาศ จุดเด่นของเครื่องปั๊มสุญญากาศแบบโรตารี่ คือมีโครงสร้างเรียบง่าย ใช้งานง่าย บำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก มีประสิทธิภาพและความเสถียรในการทำงาน จึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ระบบสุญญากาศระดับกลางไปจนถึงระดับใหญ่ เช่น งานดูดจับชิ้นงาน ระบบบรรจุภัณฑ์ หรือเครื่องแพ็กสุญญากาศทั่วไป

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบลูกสูบ (Piston Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบลูกสูบมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องยนต์ โดยภายในเครื่องปั๊มสุญญากาศจะมีลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อดูดและปล่อยอากาศออกจากห้องสูบ ทำให้เกิดความดันต่ำลงภายในระบบ จุดเด่นของเครื่องปั๊มสุญญากาศชนิดนี้อยู่ที่แรงดูดค่อนข้างสูง ทนทาน และสามารถทำงานต่อเนื่องได้ดี จึงเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการสุญญากาศสม่ำเสมอในระยะเวลานาน เช่น งานดูดน้ำมัน การบรรจุของเหลว งานเคลือบผิวรถยนต์ งานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานอบไม้ หรือระบบสุญญากาศในอุตสาหกรรมทั่วไป

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบวอเตอร์ริง (Water Ring Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบวอเตอร์ริง (Water Ring Vacuum Pump) เป็นหนึ่งในประเภทของเครื่องปั๊มสุญญากาศที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องจัดการกับก๊าซหรือไอระเหยที่มีความชื้น หรือปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องไอน้ำ หรือในสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับสารเคมีและความร้อน โดยเครื่องปั๊มสุญญากาศชนิดนี้จะทำงานโดยใช้น้ำ หรือของเหลวในการสร้างวงแหวนแรงดันรอบใบพัด เพื่อดูดอากาศออกจากระบบโดยไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ จุดเด่นของเครื่องปั๊มสุญญากาศแบบวอเตอร์ริง คือความปลอดภัย และความทนทานต่อของไหลปนเปื้อน จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ระบบกลั่น (distillation) หรือระบบที่มีไอน้ำจำนวนมาก

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบไดอะแฟรม เป็นเครื่องปั๊มที่ทำงานโดยใช้หลักการเคลื่อนที่ขึ้นลงของแผ่นยางยืดหยุ่นที่เรียกว่า “ไดอะแฟรม” แทนการใช้ลูกสูบแบบปั๊มทั่วไป ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้จะควบคุมด้วยเพลาข้อเหวี่ยงที่หมุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้แผ่นไดอะแฟรมเกิดการขยายและยุบตัว เกิดแรงดูดอากาศเข้า และดันอากาศออกจากระบบ ที่สำคัญคือเครื่องปั๊มสุญญากาศชนิดนี้ไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น แต่จะใช้วาล์วในการควบคุมการเปิดปิดแทน จึงเหมาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องการความสะอาดสูง หรือไม่สามารถปนเปื้อนน้ำมันได้ เช่น งานห้องแล็บ อุตสาหกรรมยา หรือการวิเคราะห์สารเคมี

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศขนาดเล็ก (Compact Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศที่มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และมักถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงในขนาดที่เล็กกว่าปั๊มทั่วไป ตัวเครื่องใช้พลังงานแรงดันไฟฟ้าจากมอเตอร์ DC ขนาดเล็กในการทำงาน มีเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนต่ำ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงดูดในระดับต่ำถึงกลาง และพื้นที่ติดตั้งจำกัด ซึ่งเครื่องปั๊มสุญญากาศชนิดนี้สามารถใช้ได้กับหลากหลายงาน ตั้งแต่ในห้องปฏิบัติการ งานเครื่องมือแพทย์ หรือแม้แต่ในอุปกรณ์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่ต้องการแรงดูดสุญญากาศโดยไม่ต้องการเครื่องจักรขนาดใหญ่

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบแห้ง (Dry Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศที่สร้างแรงดูดสุญญากาศโดยไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือของเหลวใด ๆ ในการทำงาน ไม่มีการเผาไหม้ ไม่เกิดความร้อนขณะเครื่องทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเครื่องปั๊มสุญญากาศแบบเปียก (Wet Vacuum Pump) ที่ต้องใช้น้ำมันหรือน้ำเป็นตัวหล่อลื่นและช่วยซีลระบบภายใน จึงจัดว่าเป็นเครื่องปั๊มสุญญากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นิยมใช้งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า

ระดับประสิทธิภาพของเครื่องปั๊มสุญญากาศก็สำคัญไม่แพ้กัน

การเลือกใช้เครื่องปั๊มสุญญากาศในงานอุตสาหกรรม ไม่เพียงขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องปั๊มสุญญากาศเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับระดับประสิทธิภาพสุญญากาศที่เครื่องสามารถสร้างได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับหลัก ๆ ดังนี้

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบธรรมดา (Low Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศที่สามารถสร้างแรงดูดสุญญากาศได้ในระดับต่ำถึงปานกลาง โดยทั่วไปจะสามารถลดความดันอากาศได้จนถึงระดับประมาณ 1,000 ถึง 1 มิลลิบาร์ ซึ่งยังคงมีอากาศหลงเหลืออยู่ในระบบในระดับหนึ่ง เครื่องปั๊มสุญญากาศประเภทนี้เหมาะสำหรับงานทั่วไป เช่น ระบบบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ การดูดของเหลว การยึดจับชิ้นงานในสายพานอัตโนมัติ รวมถึงงานในภาคเกษตรกรรมหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต้องใช้สุญญากาศลึกมาก

  1. เครื่องปั๊มสุญญากาศประสิทธิภาพสูง (High Vacuum Pump)

เครื่องปั๊มสุญญากาศที่สามารถสร้างสุญญากาศได้ในระดับลึกมาก สามารถดูดอากาศและลดความดันในระบบลงไปได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเครื่องปั๊มสุญญากาศประเภทนี้ถือเป็นอุปกรณ์ระดับสูง ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในงานเฉพาะทาง อย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบทำความเย็นขั้นสูง ระบบแอร์ที่ต้องการการควบคุมความชื้นอย่างเคร่งครัด หรือแม้กระทั่งในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับลึก เช่น ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เคมี นาโนเทคโนโลยี และการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งต้องการสุญญากาศที่สะอาด และเสถียรอย่างต่อเนื่อง

การเข้าใจประเภทของเครื่องปั๊มสุญญากาศอย่างถ่องแท้จะช่วยให้คุณเลือกเครื่องปั๊มสุญญากาศได้ตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการเฉพาะของการใช้งาน ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และคุ้มค่าการลงทุนในระยะยาว

หากคุณกำลังมองหาเครื่องปั๊มสุญญากาศ (Vacuum Pump) ที่คุ้มค่ากับธุรกิจของคุณ ทางบริษัท สยาม เซมิตซึ จำกัด พร้อมให้คำปรึกษาและบริการติดตั้งระบบที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจคุณ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.siamseimitsu.co.th/vacuum-pump/ หรือติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 082-721-5566

ซื้อสินค้า
https://absensi.sumbarprov.go.id/file_session/gacor-terus/ https://absensi.sumbarprov.go.id/images/auto-demo/ https://absensi.sumbarprov.go.id/images/extra-gacor/ https://absensi.sumbarprov.go.id/image/super-gacor/ https://kecamatan-banjarsari.ciamiskab.go.id/-/zgacor/ https://desanatah.gunungkidulkab.go.id/assets/files/dokumen/ https://fossei.org/demo/ https://goodbet.bar/ https://bigbet.bar/