ชิลเลอร์หรือเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ซึ่งหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ถือว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากชิลเลอร์เป็นระบบที่มีการประยุกต์และนำไปปรับใช้ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต โรงงานอาคารพาณิชย์ โรงงานการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ห้างสรรพสินค้า และอาคารพื้นที่ขนาดใหญ่อีกมากมาย โดยหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) จะทำการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำในระบบ และส่งไปให้ระบบปรับอากาศที่อยู่ในห้องต่าง ๆ ของอาคารแต่ละอาคาร เพื่อปรับและควบคุมอุณหภูมิสภาพแวดล้อมให้เย็นตัวลงหรือเป็นไปตามระดับที่ต้องการ
หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ในอุตสาหกรรม
Chiller (ชิลเลอร์) ที่นิยมใช้งานในอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ที่มาพร้อมระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ และชิลเลอร์ที่ใช้วิธีการระบายความร้อนด้วยอากาศ โดยหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) เบื้องต้นจะเริ่มจากการที่ Compressor ดูดอัดสารทำความเย็นให้อยู่ในสถานะแก๊สแรงดันสูง และส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนออกมาจนเปลี่ยนสถานะกลับไปเป็นของเหลวแต่ยังคงความดันในระดับสูงต่อไป จากนั้นจึงส่งต่อไปยังส่วนของอุปกรณ์ลดแรงดัน และเมื่อกระบวนการลดแรงดันเสร็จสิ้น ระบบจะนำส่งสารทำความเย็นนี้ไปยังส่วนอีวาพอเรเตอร์ สำหรับดูดซับอากาศปริมาณความร้อนจากน้ำเพื่อทำให้กลายเป็นน้ำเย็น จากนั้นระบบ Chiller จะปั๊มเอาน้ำเย็นที่ได้ส่งไปหมุนเวียนใช้ทำความเย็นในพื้นที่ที่ต้องการต่อไป
ความหลากหลายของหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ในระบบปรับอากาศอุตสาหกรรม
หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) จัดว่าเป็นหนึ่งในระบบที่มีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจอยู่พอสมควร เนื่องจากสามารถนำไปปรับใช้ร่วมกับระบบต่าง ๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้ร่วมกับระบบ HVAC หรือระบบปรับสภาวะอากาศที่ช่วยในการจัดการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และความสะอาดให้อากาศกระจายออกไปตามที่ต้องการได้อย่างทั่วถึง หรือใช้งานร่วมกับระบบหอหล่อเย็น (Cooling Tower) ในชิลเลอร์ประเภทที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ทุกระบบล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) และการจัดวางระบบที่เหมาะสมจึงจะดึงประสิทธิภาพในการทำความเย็นได้เต็มที่
ชิลเลอร์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ มีหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ร่วมกับหอหล่อเย็น (Cooling Tower) อย่างไร?
หนึ่งในหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน คือการใช้งานชิลเลอร์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำร่วมไปกับหอหล่อเย็น (Cooling Tower) ทั้งสองอุปกรณ์ต่างมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน โดยในหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ หลังจากที่น้ำถูกนำไปใช้ในการนำพาความเย็นในระบบปรับอากาศอาคารและผ่านกระบวนการทำงานจนมีอุณหภูมิสูงแล้ว จะต้องมีการปรับอุณหภูมิให้กลับมามีความเย็นอีกครั้ง ซึ่งตัวช่วยที่จะทำเช่นนั้นได้ คือหน้าที่ของหอหล่อเย็น (Cooling Tower) นั่นเอง หากอธิบายให้เข้าใจเห็นภาพง่าย ๆ คงต้องบอกว่า หอหล่อเย็นคืออุปกรณ์ย่อยที่มีหน้าที่ช่วยในการปรับสภาพอุณหภูมิน้ำร้อนให้กลายเป็นน้ำเย็น สำหรับเริ่มต้นวัฏจักรการทำความเย็นของชิลเลอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำอีกครั้ง
หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) ในอุตสาหกรรม ต่างกับระบบเครื่องปรับอากาศในบ้านอย่างไร?
หลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) มีความเหมาะสมต่อการทำความเย็นในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) จะเป็นแบบศูนย์รวมสามารถทำความเย็นได้ในระดับปริมาณมาก ๆ มีขนาดตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 ตัน ต่างกับระบบเครื่องปรับอากาศในบ้าน (Air Conditioner) จะเป็นแบบระบบแยกส่วน (Split Type) ที่สามารถทำความเย็นได้น้อยลง หรืออีกแง่มุม คงต้องบอกว่าเป็นระบบย่อยของชิลเลอร์อีกทีหนึ่งก็ว่าได้ เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก หรือติดตั้งใช้ทำความเย็นในอาคารบ้านเรือนเป็นหลัก
เชื่อว่าทุกท่านคงเข้าใจถึงหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) กันไม่มากก็น้อยแล้วใช่ไหม สำหรับท่านใดที่ยังมีข้อสงสัยต้องการสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือกำลังมองหาระบบชิลเลอร์ที่มีหลักการทำงาน Chiller (ชิลเลอร์) เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมของท่าน ทางบริษัท สยาม เซมิตซึ จำกัด เรายินดีให้คำปรึกษาและจัดจำหน่ายชิลเลอร์คุณภาพสูงให้กับคุณได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.siamseimitsu.co.th/chiller/ หรือติดต่อสอบถามได้ที่ : Tel : 082 – 721 – 5566
